คลังตรวจเข้ม 10 ขั้นตอน ก่อนจ่ายเงิน 5000 ย้ำผ่านเกณฑ์ได้เงินทุกคน

คลังตรวจเข้ม 10 ขั้นตอน ก่อนจ่ายเงิน 5000 ย้ำผ่านเกณฑ์ได้เงินทุกคน

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่ผ่านมา นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การลงทะเบียนมาตรการชดเชยรายได้แก่ลูกจ้างของสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบหรือผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ของการแพร่ระบาดของ COVID 19 หรือ มาตรการเยียวยา 5000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวมได้รับเงิน 15000 บาท ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com

ล่าสุดช่วงเช้าวันที่ 29 มีนาคม มียอดผู้ลงทะเบียนเกินกว่า 10 ล้านคนแล้วนั้น ผู้ที่ลงทะเบียนได้ไม่จำเป็นต้องว่าจะได้รับเงินทุกคนต้อง เพราะต้องผ่านเกณฑ์การตรวจสอบที่กระทรวงการคลังวางไว้ จึงจะได้เงิน

ทั้งนี้กระทรวงการคลังนำข้อมูลลงทะเบียนตรวจเช็คกับฐานข้อมูลอื่นๆ มากกว่า 10 ขั้นตอน ซึ่งจะใช้ระบบเอไอมาช่วย ดังนั้นถ้าอยากมาลง เพื่อลองดูว่าจะได้รับเงินหรือไม่ กระทรวงการคลังไม่ปิดกั้น แต่หากไม่ผ่านการตรวจสอบต้องยอมรับ เพราะคนตัวที่ลงทะเบียนจะรู้ดีที่สุด แต่ถ้ามองว่าการตรวจสอบไม่ถูกต้องเป็นผู้เดือดร้อนจริงๆ แล้วไม่ผ่านเกณฑ์ สามารถอุทธร์ ผลการพิจารณาของกระทรวงการคลังได้

สำหรับเกณฑ์ที่กระทวงการคลังวางไว้ คือ สัญชาติไทย อายุ 18 ปี ขึ้นไป ไม่มีสถานะนักเรียนหรือนักศึกษา ณ วันลงทะเบียน ไม่เป็นข้าราชการ ไม่เป็นอาชีพเกษตรกรรม ต้องเป็นผู้มีงานทำ ที่สำคัญต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ 19 ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ไม่ได้รับการดูแลหรือเยียวยาจากระบบประกันสังคม

ทั้งนี้ลูกจ้างร้านที่ถูกปิด ต้องมีหลักฐานว่าถูกปิดกิจการ และต้องมีหลักฐานที่ระบุว่าเป็นลูกจ้างร้าน เช่น รูปถ่ายที่เคยถ่ายในร้าน หรือมีหลักฐานอื่นๆ ที่ระบุว่าเป็นลูกจ้างร้านดังกล่าว คนขับรถแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซด์ ต้องมีใบขับขี่สถานะมายืนยัน ส่วนแม่ค้าแผงลอยข้างถนน ต้องมีหลักฐานค้าขายจริง ส่วนหนึ่งมาจากฐานการลงทะเบียนหาบเร่ แผงลอย ที่เคยลงทะเบียนไว้กับธนาคารออมสิน ถ้ามีฐานข้อมูลจะได้รับเงินเร็ว แต่ถ้าไม่มีทางกระทรวงการคลังอาจขอเอกสารเพิ่ม อาจจะได้รับเงินล่าช้ากว่า 7 วันทำการ

นายลวรณ กล่าวว่า เมื่อลงทะเบียนแล้วจะมีการส่งข้อมูลแจ้งไปยังเบอร์มือถือว่าผ่านหรือไม่ภายใน 7 วัน โดยจะแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

1 กลุ่มผ่านเกณณ์ จะได้รับ SMS ยืนยัน ให้รอรับเงินโอนให้ผ่านพร้อมเพย์ หรือบัญชีธนาคารที่ลงทะเบียนไว้

2 หากไม่ผ่านจะแจ้งให้ทราบพร้อมเหตุผล สามารถอุทธรณ์ได้

3 ขอข้อมูลเพิ่มเติม เช่น กลุ่มที่ไม่ชัดเจนเรื่องสถานที่ทำงาน

ที่มา กระทรวงการคลัง

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ