8 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง COVID 19 ระบาดหนัก ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

8 จังหวัดพื้นที่เสี่ยง COVID 19 ระบาดหนัก ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ

จากสถานการณ์ COVID ที่ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อ ประชากรทั่วโลกรวมไปถึงประเทศไทยด้วย ทำให้หลายกิจการต้องหยุดดำเนินการ และทางหน่วยงานต่างๆก็รณรงค์ให้ประชาชนอยู่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงในการติด COVID

ล่าสุด วันนี้ 29 มีนาคม 63 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ของ COVID 2019 หรือ ศบค แถลงข่าว สถานการณ์แพร่ของ COVID 19 ประจำวันนี้ โดยระบุว่าวันนี้ ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติด เชื้อรายใหม่ 143 ราย สะสมรวม 1388 ราย

ทั้งนี้ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ยังได้เผยอีกว่า ขณะที่กลุ่มพื้นที่เฝ้าระวังพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี ภูเก็ต สี่จังหวัดภาคใต้ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสระแก้ว

ภาพจาก เพจข่าวไทย สยามนิวส์ ออนไลน์

นพ.ทวีศิลป์ กว่าเสริมว่า รัฐบาลขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และขอบคุณประชาชนที่ให้ความร่วมมือรักษาระยะห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใครที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้อง ไม่ให้ความร่วมมือ ขอฝากให้ปรับปรุง มิฉะนั้น เจ้าหน้าที่คงต้องลงโทษขั้นเด็ดขาด

ภาพจาก TPBS

ขณะที่ นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ประเทศไทยพบผู้ป่วยกระจายไปกว่า 59 จังหวัด และมีประมาณ 10 จังหวัด ที่ยังไม่พบผู้ป่วยเลย การแพร่ระบาดของโรคทั่วประเทศไทยมีลักษณะต่างกัน ลักษณะป้องกันโรคในแต่ละจังหวัดจึงต่างกันออกไป ความเข้มข้น น้ำหนัก

สำหรับวิธีการจัดการระบบป้องกันควบคุมโรคจะต่างกันออกไป แบ่งเป็น

1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยให้ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงใช้มาตรการลดระยะห่างทางสังคมให้มากที่สุด

2 จังหวัดที่ยังไม่พบผู้ป่วย จะดำเนินการป้องกันโรคเหมือนกรุงเทพมหานครในช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา คือจะพบผู้ป่วยที่เดินทางจากต่างพื้นที่ สิ่งที่ต้องทำในขณะนี้คือต้องเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าจังหวัด และติดตามเฝ้าดูอาการให้ครบ 14 วัน

3 จังหวัดที่พบผู้ป่วยน้อย ประมาณ 1 ถึง 4 ราย โดยเป็นผู้ป่วยที่เดินทางมาจากพื้นที่อื่น ลักษณะการป้องกันจะคล้ายกับกลุ่มแรก คือจะต้องค้นหาผู้เดินทางจากนอกพื้นที่ให้ได้เร็วที่สุด เข้าไปสอบสวนโรคเพื่อหยุดการแพร่โรคให้ได้เร็วที่สุด ยุทธศาสตร์ในการพยายามยุติโรคให้ได้โดยเร็วในจังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยจากนอกพื้นที่เข้าไป เป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของกรมควบคุมโรค เพื่อให้มีจังหวัดที่ปลอดผู้ป่วยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ภาพจาก TPBS

4 จังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยจำนวนหนึ่งแต่ยังไม่ขยายในวงกว้าง เช่น สุรินทร์ อุดรธานี กาญจนบุรี บุรีรัมย์ นครราชสีมา เป็นต้น โดยจะต้องมีวิธีป้องกันเน้นหนักใน 2 เรื่องคือ การตรวจจับผู้ป่วยและสอบสวนโรคให้ได้โดยเร็ว และจะต้องพิจารณามาตรการเชิงสังคม ที่จะต้องเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคลมากขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะที่คล้ายกับมาตรการในกรุงเทพมหานคร

5 จังหวัดใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งจะมีสถานการณ์ที่แตกต่างกันและจะมีมาตรการที่แตกต่างกันออกไป

ในส่วนของกรุงเทพมหานครที่มีผู้ป่วยจำนวนมากและแพร่กระจายไปมาก จะต้องตามตะครุบผู้ป่วยให้ได้อยู่ดี แต่มาตรการที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องเพิ่มระยะห่างทางสังคม เพื่อให้พบปะกันน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น การทำงานที่บ้าน การใช้มาตรการเหลื่อมเวลาเพื่อลดความหนาแน่นในพื้นที่สาธารณะ

ที่มา thestandard

เรียบเรียง siamvariety

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ