กระทรวงพลังงาน เผย ปรับแผนพลังงานฯฉบับใหม่ อาจจะทำให้ค่าไฟขึ้น 8สต ต่อหน่วย

กระทรวงพลังงาน เผย ปรับแผนพลังงานฯฉบับใหม่ อาจจะทำให้ค่าไฟขึ้น 8สต ต่อหน่วย

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว ทีไออีบีฉบับใหม่ ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์ เกท ว่า ผลการศึกษาจัดทำร่างแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2561 2580 หรือพีดีพี 2018 ฉบับปรับปรุง ยอมรับว่าการผลิตไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บกับประชาชนเพิ่มขึ้น 0จุด0769 บาทต่อหน่วย จากช่วงการศึกษาค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 3จุด5903 บาทต่อหน่วย มาอยู่ที่ 3จุด6672 บาทต่อหน่วยในช่วงปลายแผน แต่ยืนยันว่ารัฐจะบริหารจัดการได้ เพราะมีแผนนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว แอลเอ็นจี เพื่อผลิตไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันราคาแอลเอ็นจีปรับลดลง ถัวเฉลี่ยแล้วอนาคตต้นทุนอาจลดลง สามารถดูแลต้นทุนรวมค่าไฟฟ้าไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนได้

นายกุลิศ กล่าวว่า การปรับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เออีดีพี ให้สอดคล้องกับแผนพีดีพี 2018 ตั้งเป้าหมายเพิ่มโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากในปี 2563ถึง2567 จะมีพลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพ น้ำเสีย ก๊าซชีวภาพ พืชพลังงาน และโซลาร์ ไฮบริด กำลังผลิตรวม 1 933 เมกกะวัตต์ พร้อมทั้งปรับลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพตามทิศทางการใช้พลังงานในอนาคต อาทิ การใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นส่งผลให้การใช้น้ำมันลดลง และการสร้างรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแล้วเสร็จ แต่ยังรักษาระดับเป้าหมายสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายไม่น้อยกว่า 30% ในปี 2580

ได้ปรับสัดส่วนรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ใหม่ บางประเภทเชื้อเพลิง แต่ยังคงเป้าหมายรวมไว้เท่าเดิมคือ 18696 เมกกะวัตต์ เป็นการปรับลดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โซลาร์ ประชาชนลงหลังไม่เป็นไปตามแผน และปรับเพิ่มเป้าหมายโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กฟผ 69 เมกกะวัตต์ ปรับเพิ่มเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ พืชพลังงาน ชะลอโรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐภาคใต้ ปีละ 60 เมกกะวัตต์ จากปี 2564 2565 ไปเป็นปี 2565 2566 พร้อมเร่งรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลม จากเดิมปี 2577 มาเป็นปี 2565 นายกุลิศกล่าว

นายกุลิศ กล่าวว่า ส่วนการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ก๊าซแพลน สำหรับโรงไฟฟ้าขนอม โรงไฟฟ้าสุราษฎร์ธานี และโรงไฟฟ้าใหม่ตามแผนพีดีพี 2018 มีความจำเป็นต้องจัดหาแอลเอ็นจีเพิ่มเติมให้เพียงพอกับความต้องการใช้ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป ตั้งเป้าหมายปี 2570 จัดหาคลังแอลเอ็นจี แอลเอ็นจี เทอร์มอนอล ในภาคใต้ 5 ล้านตันต่อปี และการจัดหาก๊าซธรรมชาติผ่านโครงข่ายท่อบนบกจะเพียงพอกับความต้องการใช้ถึงปี 2563 ส่วนโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิต 1000 เมกกะวัตต์ยังคงมีอยู่ในภาคใต้ตามแผนที่วางไว้ แต่จะต้องใช้เทคโนโลยีลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน และมีแผนสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซจังหวัดสุราษฎร์ธานี รองรับความมั่นคงด้านพลังงานด้วย

หลังจากนี้จะมีการนำแผนทีไออีบีฉบับใหม่ เสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน กบง พิจารณา ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กพช เพื่อให้ความเห็นชอบภายในเดือนมีนาคมนี้นายกุลิศกล่าว

ขอบคุณที่มาจาก matichon

ไม่พลาดทุกข่าวสาร รู้ลึก รู้จริงก่อนใคร ติดตามข่าวสารผ่านช่องทางไลน์ แอดมาเป็นเพื่อนกับเราได้ที่นี่

:: ร่วมแสดงความคิดเห็นกับสิ่งนี้

:: เนื้อหาข่าวที่น่าสนใจ